วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

แผนกการจัดการ

                        ความหมายของการจัดการ (Defining management)

การจัดการ (Management) หมายถึง ขบวนการที่ทําให้งานกิจกรรมต่างๆสําเร็จลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลด้วยคนและทรัพยากรขององค์การ (Robbins and DeCenzo, 2004; Certo, 2003) ซึ่งตามความหมายนี้องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ ได้แก่ ขบวนการ (process) ประสิทธิภาพ (efficiency) และประสิทธิผล (effectiveness) ขบวนการ (process) ในความหมายของการจัดการนี้หมายถึงหน้าที่ต่างๆด้านการจัดการ ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์การ การโน้มนําองค์การ และการควบคุม ซึ่งจะได้อธิบายละเอียดต่อไปในหัวข้อต่อไปเกี่ยวกับ หน้าที่และขบวนการจัดการ


                     ขบวนการจัดการ (Management process)


ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 Henri Fayol ได้เสนอไว้ว่า ผู้จัดการหรือผู้บริหารทุกคนต้อง ทํากิจกรรมเกี่ยวกับการจัดการ หรือที่เรียกว่า ขบวนการจัดการ 5 อย่าง ได้แก่ การวางแผน (planning) การจัดองค์การ (organizing) การสั่งการ (commanding) การประสานงาน (coordinating) และการควบคุม (controlling) (เขียนย่อว่า POCCC) และต่อมาในช่วงกลางปทศวรรษ 1950 นักวิชาการจาก UCLA ได้ปรับมาเป็น การวางแผน (planning) การจัดองค์การ(organizing) การจัดการพนักงาน (staffing) การสั่งการ (directing) และการควบคุม (controlling) (เขียนย่อว่า POSDC) ซึ่งขบวนการจัดการ 5 ประการ (POSDC) อันหลังนี้เป็นที่นิยมใช้เป็นกรอบในการเขียนตํารามากว่า 20 ป และต่อมาในช่วงหลังนี้ได้ย่อขบวนการจัดการ 5 ประการนี้ เป็นหน้าที่พื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่ การวางแผน (planning) การจัดองค์การ(organizing) การโน้มนํา (leading/influencing) และการควบคุม (controlling) อย่างไรก็ตามงานในแต่ละส่วนของขบวนการจัดการที่กล่าวข้างต้นนี้มีความสัมพันธ์และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน ประกอบด้วย




การวางแผน (planning)


เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกําหนดเป้าหมายขององค์การ สร้างกลยุทธ์ เพื่อแนวทางในการดําเนินไปสู่เป้าหมาย และกระจายจากกลยุทธ์ไปสู่แผนระดับปฏิบัติการ โดยกลยุทธ์และแผนในแต่ละระดับและแต่ละส่วนงานต้องสอดคล้องประสานกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในส่วนงานของตนและเป้าหมายรวมขององค์การด้วย




การจัดองค์การ(organizing)


เป็นกิจกรรมที่ทําเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างขององค์การ โดย พิจารณาว่า การที่จะทําให้ได้บรรลุตามเป้าหมายที่กําหนดไว้นั้น ต้องมีงานอะไรบ้าง และงานแต่ละอย่างจะสามารถจัดแบ่งกลุ่มงานได้อย่างไร มีใครบ้างเป็นผู้รับผิดชอบในแต่ละส่วนงานนั้น และมีการรายงานบังคับบัญชาตามลําดับขั้นอย่างไร ใครเป็นผู้มีอํานาจในการตัดสินใจ




การโน้มนําพนักงาน (leading/influencing)


เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดการให้พนักงานทํางาน อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งต้องใช้การประสานงาน การติดต่อสื่อสารที่ดี การจูงใจในการทํางาน ผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นําที่เหมาะสม ลดความขัดแย้งและความตรึงเครียดในองค์การ




การควบคุม (controlling)


เมื่อองค์การมีเป้าหมาย และได้มีการวางแผนแล้วก็ทําการจัดโครงสร้างองค์การ ว่าจางพนักงาน ฝึกอบรม และสร้างแรงจูงใจให้ทํางาน และเพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งต่างๆจะดําเนินไปตามที่ควรจะเป็น ผู้บริหารก็ต้องมีการควบคุมติดตามผลการปฏิบัติการ และ เปรียบเทียบผลงานจริงกับเป้าหมายหรือมาตรฐานที่กําหนดไว้ หากผลงานจริงเบี่ยงเบนไปจากเป้า หมายก็ต้องทําการปรับให้เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งขบวนการติดตามประเมินผล เปรียบเทียบ และ แก้ไขนี้ก็คือขบวนการควบคุม


                     บทบาทของการจัดการ (Managerial roles)

เมื่อกล่าวถึ งหน้าที่ที่ เกี่ยวกับการจัดการในองค์การมักมุ่งไปที่หน้าที่ต่างๆในขบวนการจัดการ 4 ประการ (การวางแผน การจัดองค์การ การโน้มนํา และการควบคุม) ดังที่กล่าวข้างต้น ซึ่งผู้บริหารแต่ละคนให้ความสําคัญและเวลาในการทําหน้าที่การจัดการเหล่านี้แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังขึ้นกับลักษณะการดําเนินงานขององค์การที่แตกต่างกันด้วย (เช่น มีลักษณะการดําเนินงานเป็นองค์การที่แสวงหากําไรหรือองค์การที่ไม่แสวงหากําไร) ระดับของผู้บริหารที่ต่างกัน (ระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูง) และขนาดขององค์การที่ต่างกัน ตัวอย่างเช่น ผู้บริหารที่อยู่ในระดับบริหารที่แตกต่างกันจะให้เวลาในการทํากิจกรรมของแต่ละหน้าที่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาถึงกิจกรรมของผู้บริหารในองค์การแล้ว Mintzberg เห็นว่าบทบาทของ การจัดการสามารถจัดแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม หรือที่เรียกว่า บทบาทด้านการจัดการของ Mintzberg (Mintzberg’s managerial roles) ได้แก่ บทบาทด้านระหว่างบุคคล (interpersonal roles) บทบาทด้านข้อมูล (informational roles) และบทบาทด้านการตัดสินใจ (decisional roles) โดยแต่ละกลุ่มของบทบาทมีบทบาทย่อยดังต่อไปนี้



บทบาทระหว่างบุคคล (interpersonal roles) เป็นบทบาทด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ประกอบด้วย บทบาทย่อย ได้แก่



1) บทบาทตามตําแหน่ง (figurehead): ทําหน้าที่ประจําวันต่างๆตามระเบียบที่เกี่ยวกับกฎหมาย หรือตามที่สังคมกําหนด เช่น การต้อนรับแขกขององค์กร ลงนามในเอกสารตามกฎหมาย เป็นต้น



2) บทบาทผู้นํา (leader): ต้องรับผิดชอบสร้างแรงจูงใจและกระตุนการทํางานของพนักงาน รับผิดชอบในการจัดหาคน ฝึกอบรม และงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ



3) บทบาทการสร้างสัมพันธภาพ (liaison): โดยสร้างเครือข่ายภายในและภายนอกเพื่อการ กระจายข้อมูลให้ทั่วถึง
 4) เป็นผู้ติดตามประเมินผล (monitor): เป็นการติดตามเลือกรับข้อมูล (ซึ่งมักจะเป็นเหตุการณ์ปัจจุบัน) เพื่อเข้าใจความเคลื่อนไหวขององค์การและสิ่งแวดล้อม เป็นเสมือนศูนย์กลางของ ระบบ



5) เป็นผู้กระจายข้อมูล (disseminator): รับบทบาทส่งผ่านข้อมูลไปยังพนักงานในองค์การ บางข้อมูลก็เกี่ยวกับข้อเท็จจริง บางข้อมูลเกี่ยวกับการแปลผลและรวบรวมความแตกต่างกันที่เกิดขึ้นในองค์การ



6) เป็นโฆษก (spokesperson): ทําหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานภายนอก เกี่ยวกับ แผนงาน นโยบาย กิจกรรม และผลงานขององค์การ เช่น เป็นผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม





7) เป็นผู้ประกอบการ (entrepreneur): หาโอกาสและริเริ่มสิ่งใหม่ๆ เช่น การปรับปรุงโครงการ เพื่อนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ให้คำแนะนําเกี่ยวกับการออกแบบโครงการ โดยการจัดให้มีการทบทวนและกําหนดกลยุทธ์เพื่อพัฒนาโปรแกรมใหม่ๆ

8) เป็นผู้จัดการความสงบเรียบร้อย (disturbance hander): รับผิดชอบแก้ไขการดําเนินงานเมื่อองค์การเผชิญกับความไม่สงบเรียบร้อย โดยการทบทวนและกําหนดกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับความไม่สงบและวิกฤติการณ์ในองค์การ

9) เป็นผู้จัดสรรทรัพยากร (resource allocator): เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดสรรทรัพยากรต่างๆในองค์การ เช่น ทําการตัดสินใจและอนุมัติในประเด็นที่สําคัญต่างๆขององค์การ โดยจัดลําดับ และกระจายอํานาจ ดูแลกิจกรรมที่เกี่ยวกับเรื่องงบประมาณ และจัดการเกี่ยวกับการทํางานของพนักงาน

10) เป็นผู้ต่อรอง (negotiator): รับผิดชอบในการเป็นตัวแทนต่อรองในเรื่องสําคัญขององค์การ เช่น มีส่วนร่วมในการทําสัญญากับสหภาพแรงงานขององค์การ หรือการต่อรองกับผู้จัดหา (suppliers)

ทฤษฎีองค์การและการจัดการ ทุกองค์การไม่ว่าจะมีขนาด ประเภท หรือสถานที่ตั้งอย่างไร จำเป็นต้องมีการจัดการที่ดี ซึ่งการจัดการที่ดีเป็นจุดเริ่มต้นของการดําเนินงานขององค์การ การเติบโตและการดํารงอยู่ต่อไปของ องค์การ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์การในยุคศตวรรษที่21 ซึ่งต้องเผชิญกับ ปัจจัยแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม เศรษฐกิจ โลกาภิวัตน์ และเทคโนโลยี ทําให้องค์การต้องมีแนวทางในการจัดการที่ทันสมัยเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนี้ เพื่อให้เข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการสมัยใหม่ ในบทนี้จะได้นำเสนอหัวข้อเกี่ยวกับเรื่อง องค์การสมัยใหม่ ความหมายของการจัดการ ขบวนการจัดการ บทบาทของการจัดการ คุณสมบัติของนักบริหารที่ประสบความสำเร็จ




องค์การสมัยใหม่ (Modern organization)


การจัดการเกิดขึ้นในองค์การ และในมุมมองด้านการจัดการ องค์การหมายถึง การที่มีคนมาทํางานร่วมกันอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งองค์การมีลักษณะร่วมกันอยู่ 3 ประการ ได้แก่
1) ทุกองค์การต้องมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของตนเอง
2) ทุกองค์การต้องมีคนร่วมกันทํางาน
3) องค์การต้องมีการจัดโครงสร้างงานแบ่งงานหน้าที่รับผิดชอบของคนในองค์การ


ตามที่กล่าวข้างต้น จะเห็นว่าองค์การปัจจุบันต้องเผชิญกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นองค์การต้องมีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ แนวคิดเกี่ยวกับองค์การในแบบเดิมกับองค์การสมัยใหม่ก็มีความแตกต่างกัน เช่น การจัดการแบบคงเดิมกับแบบพลวัตร รูปแบบไม่ยืดหยุ่นกับแบบยืดหยุ่น การเน้นที่ตัวงานกับเน้นทักษะ การมีสถานที่ทำงานและเวลาทำงานที่เฉพาะคงที่กับการทํางานได้ทุกที่ทุกเวลา


องค์การแบบเดิมจะมีลักษณะการจัดการที่คงเดิมไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง ถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นบ้างก็เป็นในช่วงสั้นๆ แต้องค์การปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จะมีความคงที่บ้างเป็นช่วงสั้นๆ จึงมีการจัดการแบบพลวัตรสามารถปรับเปลี่ยนให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา องค์การแบบเดิมมักมีการจัดการแบบไม่ยืดหยุ่น ส่วนในองค์การสมัยใหม่จะมีการจัดการที่ยืดหยุ่น กล่าวคือในองค์การสมัยใหม่จะไม่ยึดติดกับแนวทางปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ต้องให้มีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติ สามารถปรับเปลี่ยนได้ถ้าสถานการณ์แตกต่างไป


องค์การแบบเดิมลักษณะของงานจะคงที่ พนักงานแต่ละคนจะได้รับมอบหมายงานเฉพาะ และทํางานในกลุ่มเดิมไม่ค่อยเปลี่ยน แต่ในองค์การสมัยใหม่พนักงานต้องเพิ่มศักยภาพของตนที่จะเรียนรุ้และสามารถทํางานที่เกี่ยวข้องได้รอบด้าน และมีการสับเปลี่ยนหน้าที่และกลุ่มงานอยู่เป็นประจํา ตัวอย่างเช่น ในบริษัทผลิตรถยนต์ พนักงานในแผนกผลิต ต้องสามารถใช้งานเครื่องจักรที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ได้ด้วย ซึ่งในคำบรรยายลักษณะงาน (job description) เดียวกันนี้เมื่อ 20 ปก่อนไม่มีการระบุไว้ดังนั้นในองค์การสมัยใหม่จะพัฒนาบุคลากรให้เพิ่มทักษะการทํางานได้หลากหลายมากขึ้น และในการพิจารณาค่าตอบแทนการทํางาน (compensation) ในองค์การสมัยใหม่มีแนวโน้มที่จะตอบแทนตามทักษะ (skill based) ยิ่งมีความสามารถในการทํางานหลายอย่าง มากขึ้นก็ได้ค่าตอบแทนมากขึ้น แทนการให้ค่าตอบแทนตามลักษณะงานและหน้าที่รับผิดชอบ (job based)


องค์การแบบเดิม พนักงานจะทํางานในสถานที่ทํางานและเป็นเวลาที่แน่นอน แต่ในองค์สมัยใหม่มีแนวโน้มที่จะให้อิสระกับพนักงานในการทํางานที่ใดก็ได้เมื่อไรก็ได้ แต่ต้องได้ผลงานตามที่กําหนด เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีเอื้อให้สามารถสื่อสารถึงกันได้แม้ทํางานคนละแห่ง รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และโลกาภิวัตน์ทําให้คนต้องทํางานแข่งกับเวลามากขึ้นจนเบียดบังเวลาส่วนตัวและครอบครัว ดังนั้นองค์การสมัยใหม่จะให้เกิดความยืดหยุ่นในการทํางานทั้งเรื่องเวลาและสถานที่เพื่อให้สอดรับกับแนวโน้มวิถีการดําเนินชีวิตของพนักงานยุคใหม่




ความหมายของการจัดการ (Defining management)


การจัดการ (Management) หมายถึง ขบวนการที่ทําให้งานกิจกรรมต่างๆสําเร็จลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลด้วยคนและทรัพยากรขององค์การ (Robbins and DeCenzo, 2004; Certo, 2003) ซึ่งตามความหมายนี้องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ ได้แก่ ขบวนการ (process) ประสิทธิภาพ (efficiency) และประสิทธิผล (effectiveness) ขบวนการ (process) ในความหมายของการจัดการนี้หมายถึงหน้าที่ต่างๆด้านการจัดการ ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์การ การโน้มนําองค์การ และการควบคุม ซึ่งจะได้อธิบายละเอียดต่อไปในหัวข้อต่อไปเกี่ยวกับ หน้าที่และขบวนการจัดการ




ประสิทธิภาพ (efficiency) และประสิทธิผล (effectiveness)


เป็นเรื่องเกี่ยวกับลักษณะของ การจัดการ โดยประสิทธิภาพ หมายถึง การทํางานอย่างถูกวิธี เป็นการเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยนํา เข้า (inputs) กับผลผลิต (outputs) หากเราสามารถทํางานได้ผลผลิตมากกว่าในขณะที่ใช้ปัจจัยนําเข้าน้อยกว่า หรือ เท่ากัน ก็หมายความว่า เราทํางานได้มีประสิทธิภาพมากกว่า ซึ่งปัจจัยนําเข้าในการจัดการก็คือทรัพยากรขององค์การ ได้แก่ คน เงิน วัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องจักร และทุน ทรัพยากรเหล่านี้มีจํากัด และเป็นต้นทุนในการดําเนินงานขององค์การ ดังนั้นการจัดการที่ดีจึงต้องพยายามทําให้มีการใช้ทรัพยากรน้อยที่สุดและให้เกิดผลผลิตมากที่สุด


ประสิทธิผล (effectiveness) สําหรับประสิทธิผลในการจัดการหมายถึง การทําได้ตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงคที่กําหนดไว้ การจัดการที่มีเพียงประสิทธิภาพนั้นยังไม่เพียงพอต้องคำนึงว่า ผลผลิตนั้นเป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนดไว้หรือไม่ ตัวอย่างเช่น สถาบันศึกษาที่ผลิตผู้สําเร็จการศึกษาพร้อมกันที่ละมากๆ หากไม่คำนึงถึงคุณภาพการศึกษาก็อาจจะได้แต่ประสิทธิภาพ คือใช้ทรัพยากรในการผลิตหรือต้นทุนต่อผู้เรียนตํ่า แต่อาจจะไม่ได้ประสิทธิผลในการศึกษา เป็นต้น และ ในทางกลับกันหากทํางานที่ได้ประสิทธิผลอย่างเดียวก็ไม่ได้ ต้องคำนึงถึงต้นทุนและความมีประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น บริษัท Hewlett-Packard อาจจะทําตลับหมึกสีสําหรับเครื่อง Laser printer ที่มีสีเหมือนจริงและทนนานมากกว่าเดิมได้ แต่ต้องใช้เวลา แรงงาน และวัตถุดิบที่สูงขึ้นมาก ทางด้านประสิทธิผลออกมาดี แต่นับว่าไม่มีประสิทธิภาพ เพราะต้นทุนรวมสูงขึ้นมาก เป็นต้น


ในการบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น ต้องอาศัยความเข้าใจในสาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ด้านมนุษย์ศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ปรัชญา การเมือง จิตวิทยา และ สังคมศาสตร์ เพื่อให้เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ความได้เปรียบในการแข่งขัน การคาเสรี ความขัดแย้ง การใช้อํานาจ และความสัมพันธ์ของมนุษย์ในสังคม




ขบวนการจัดการ (Management process)


ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 Henri Fayol ได้เสนอไว้ว่า ผู้จัดการหรือผู้บริหารทุกคนต้อง ทํากิจกรรมเกี่ยวกับการจัดการ หรือที่เรียกว่า ขบวนการจัดการ 5 อย่าง ได้แก่ การวางแผน (planning) การจัดองค์การ (organizing) การสั่งการ (commanding) การประสานงาน (coordinating) และการควบคุม (controlling) (เขียนย่อว่า POCCC) และต่อมาในช่วงกลางปทศวรรษ 1950 นักวิชาการจาก UCLA ได้ปรับมาเป็น การวางแผน (planning) การจัดองค์การ(organizing) การจัดการพนักงาน (staffing) การสั่งการ (directing) และการควบคุม (controlling) (เขียนย่อว่า POSDC) ซึ่งขบวนการจัดการ 5 ประการ (POSDC) อันหลังนี้เป็นที่นิยมใช้เป็นกรอบในการเขียนตํารามากว่า 20 ป และต่อมาในช่วงหลังนี้ได้ย่อขบวนการจัดการ 5 ประการนี้ เป็นหน้าที่พื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่ การวางแผน (planning) การจัดองค์การ(organizing) การโน้มนํา (leading/influencing) และการควบคุม (controlling) อย่างไรก็ตามงานในแต่ละส่วนของขบวนการจัดการที่กล่าวข้างต้นนี้มีความสัมพันธ์และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน ประกอบด้วย




การวางแผน (planning)


เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกําหนดเป้าหมายขององค์การ สร้างกลยุทธ์ เพื่อแนวทางในการดําเนินไปสู่เป้าหมาย และกระจายจากกลยุทธ์ไปสู่แผนระดับปฏิบัติการ โดยกลยุทธ์และแผนในแต่ละระดับและแต่ละส่วนงานต้องสอดคล้องประสานกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในส่วนงานของตนและเป้าหมายรวมขององค์การด้วย




การจัดองค์การ(organizing)


เป็นกิจกรรมที่ทําเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างขององค์การ โดย พิจารณาว่า การที่จะทําให้ได้บรรลุตามเป้าหมายที่กําหนดไว้นั้น ต้องมีงานอะไรบ้าง และงานแต่ละอย่างจะสามารถจัดแบ่งกลุ่มงานได้อย่างไร มีใครบ้างเป็นผู้รับผิดชอบในแต่ละส่วนงานนั้น และมีการรายงานบังคับบัญชาตามลําดับขั้นอย่างไร ใครเป็นผู้มีอํานาจในการตัดสินใจ




การโน้มนําพนักงาน (leading/influencing)


เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดการให้พนักงานทํางาน อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งต้องใช้การประสานงาน การติดต่อสื่อสารที่ดี การจูงใจในการทํางาน ผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นําที่เหมาะสม ลดความขัดแย้งและความตรึงเครียดในองค์การ




การควบคุม (controlling)


เมื่อองค์การมีเป้าหมาย และได้มีการวางแผนแล้วก็ทําการจัดโครงสร้างองค์การ ว่าจางพนักงาน ฝึกอบรม และสร้างแรงจูงใจให้ทํางาน และเพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งต่างๆจะดําเนินไปตามที่ควรจะเป็น ผู้บริหารก็ต้องมีการควบคุมติดตามผลการปฏิบัติการ และ เปรียบเทียบผลงานจริงกับเป้าหมายหรือมาตรฐานที่กําหนดไว้ หากผลงานจริงเบี่ยงเบนไปจากเป้า หมายก็ต้องทําการปรับให้เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งขบวนการติดตามประเมินผล เปรียบเทียบ และ แก้ไขนี้ก็คือขบวนการควบคุม




บทบาทของการจัดการ (Managerial roles)


เมื่อกล่าวถึ งหน้าที่ที่ เกี่ยวกับการจัดการในองค์การมักมุ่งไปที่หน้าที่ต่างๆในขบวนการจัดการ 4 ประการ (การวางแผน การจัดองค์การ การโน้มนํา และการควบคุม) ดังที่กล่าวข้างต้น ซึ่งผู้บริหารแต่ละคนให้ความสําคัญและเวลาในการทําหน้าที่การจัดการเหล่านี้แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังขึ้นกับลักษณะการดําเนินงานขององค์การที่แตกต่างกันด้วย (เช่น มีลักษณะการดําเนินงานเป็นองค์การที่แสวงหากําไรหรือองค์การที่ไม่แสวงหากําไร) ระดับของผู้บริหารที่ต่างกัน (ระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูง) และขนาดขององค์การที่ต่างกัน ตัวอย่างเช่น ผู้บริหารที่อยู่ในระดับบริหารที่แตกต่างกันจะให้เวลาในการทํากิจกรรมของแต่ละหน้าที่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาถึงกิจกรรมของผู้บริหารในองค์การแล้ว Mintzberg เห็นว่าบทบาทของ การจัดการสามารถจัดแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม หรือที่เรียกว่า บทบาทด้านการจัดการของ Mintzberg (Mintzberg’s managerial roles) ได้แก่ บทบาทด้านระหว่างบุคคล (interpersonal roles) บทบาทด้านข้อมูล (informational roles) และบทบาทด้านการตัดสินใจ (decisional roles) โดยแต่ละกลุ่มของบทบาทมีบทบาทย่อยดังต่อไปนี้


บทบาทระหว่างบุคคล (interpersonal roles) เป็นบทบาทด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ประกอบด้วย บทบาทย่อย ได้แก่


1) บทบาทตามตําแหน่ง (figurehead): ทําหน้าที่ประจําวันต่างๆตามระเบียบที่เกี่ยวกับกฎหมาย หรือตามที่สังคมกําหนด เช่น การต้อนรับแขกขององค์กร ลงนามในเอกสารตามกฎหมาย เป็นต้น


2) บทบาทผู้นํา (leader): ต้องรับผิดชอบสร้างแรงจูงใจและกระตุนการทํางานของพนักงาน รับผิดชอบในการจัดหาคน ฝึกอบรม และงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ


3) บทบาทการสร้างสัมพันธภาพ (liaison): โดยสร้างเครือข่ายภายในและภายนอกเพื่อการ กระจายข้อมูลให้ทั่วถึง


บทบาทด้านข้อมูล (informational roles) เป็นบทบาทด้านการกระจายและส่งผ่านข้อมูล ประกอบด้วย บทบาทย่อย ดังนี้


4) เป็นผู้ติดตามประเมินผล (monitor): เป็นการติดตามเลือกรับข้อมูล (ซึ่งมักจะเป็นเหตุการณ์ปัจจุบัน) เพื่อเข้าใจความเคลื่อนไหวขององค์การและสิ่งแวดล้อม เป็นเสมือนศูนย์กลางของ ระบบ


5) เป็นผู้กระจายข้อมูล (disseminator): รับบทบาทส่งผ่านข้อมูลไปยังพนักงานในองค์การ บางข้อมูลก็เกี่ยวกับข้อเท็จจริง บางข้อมูลเกี่ยวกับการแปลผลและรวบรวมความแตกต่างกันที่เกิดขึ้นในองค์การ


6) เป็นโฆษก (spokesperson): ทําหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานภายนอก เกี่ยวกับ แผนงาน นโยบาย กิจกรรม และผลงานขององค์การ เช่น เป็นผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม


บทบาทด้านการตัดสินใจ (decisional roles) ทําหน้าที่ตัดสินใจในการดําเนินงานขององค์การ ประกอบด้วยบทบาทย่อย ดังนี้


7) เป็นผู้ประกอบการ (entrepreneur): หาโอกาสและริเริ่มสิ่งใหม่ๆ เช่น การปรับปรุงโครงการ เพื่อนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ให้คำแนะนําเกี่ยวกับการออกแบบโครงการ โดยการจัดให้มีการทบทวนและกําหนดกลยุทธ์เพื่อพัฒนาโปรแกรมใหม่ๆ


8) เป็นผู้จัดการความสงบเรียบร้อย (disturbance hander): รับผิดชอบแก้ไขการดําเนินงานเมื่อองค์การเผชิญกับความไม่สงบเรียบร้อย โดยการทบทวนและกําหนดกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับความไม่สงบและวิกฤติการณ์ในองค์การ


9) เป็นผู้จัดสรรทรัพยากร (resource allocator): เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดสรรทรัพยากรต่างๆในองค์การ เช่น ทําการตัดสินใจและอนุมัติในประเด็นที่สําคัญต่างๆขององค์การ โดยจัดลําดับ และกระจายอํานาจ ดูแลกิจกรรมที่เกี่ยวกับเรื่องงบประมาณ และจัดการเกี่ยวกับการทํางานของพนักงาน


10) เป็นผู้ต่อรอง (negotiator): รับผิดชอบในการเป็นตัวแทนต่อรองในเรื่องสําคัญขององค์การ เช่น มีส่วนร่วมในการทําสัญญากับสหภาพแรงงานขององค์การ หรือการต่อรองกับผู้จัดหา (suppliers)




ทักษะของนักบริหาร (Management Skills)


ผู้บริหารไม่ว่าจะอยู่ในระดับใด หรืออยู่ในองค์การใดก็ทําหน้าที่ในการจัดการ 4 อย่าง ได้ แก่ การวางแผน (planning) การจัดองค์การ (organizing) การโน้มนํา (leading/influencing) และการควบคุม (controlling) และการที่ผู้บริหารจะสามารถทําหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการได้ประสบผลสําเร็จนั้น ต้องมีทักษะที่ดีด้านการจัดการ ซึ่งทักษะสําคัญในเบื้องต้นที่ผู้บริหารควรมีอย่างน้อย 3 อย่าง ได้แก่ ทักษะด้านเทคนิค (technical skills) ทักษะด้านคน (human skills) และทักษะด้านความคิด (conceptual skills)


ทักษะด้านเทคนิค (technical skills) เป็นความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรุ้และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเกี่ยวกับงาน สําหรับผู้บริหารระดับสูงทักษะความสามารถนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรุ้ทั่วไปของอุตสาหกรรม ขบวนการและผลิตภัณฑขององค์การ และสําหรับผู้บริหารระดับกลางและระดับต้น จะเป็นทักษะความสามารถเฉพาะด้านในงานที่ทํา เช่น การเงิน ทรัพยากรบุคคล เทคโนโลยีสารสนเทศ การผลิต ระบบคอมพิวเตอร์ กฎหมาย การตลาด เป็นต้น ทักษะทางด้านเทคนิคมักเป็นความสามารถเกี่ยวกับตัวงาน เช่น ขบวนการหรือผลิตภัณฑ


ทักษะด้านคน (human skills) เป็นทักษะในการทําให้เกิดความประสานงานกันของกลุ่มที่ผู้บริหารนั้นรับผิดชอบ เป็นการทํางานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องทัศนคติ การสื่อสาร และผลประโยชน์ของบุคคลและกลุ่ม เป็นทักษะการทํางานกับคน


ทักษะด้านความคิด (conceptual skills) เป็นความสามารถในการมององค์การในภาพรวม ผู้บริหารที่มีทักษะด้านความคิด จะสามารถเข้าใจความสัมพันธ์ของหน่วยงานต่างๆในองค์การว่ามีผลต่อกันอย่างไร และเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับปัจจัยแวดล้อมองค์การ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงในส่วนหนึ่งขององค์การมีผลกระทบกับส่วนอื่นๆอย่างไร


ทักษะด้านความคิดนี้จะยิ่งมีความสําคัญมากขึ้นเมื่ออยู่ในระดับบริหารที่สูงขึ้น ขณะที่ทักษะด้านเทคนิคจะมีความสําคัญน้อยลงในระดับบริหารที่สูงขึ้น เนื่องจากผู้บริหารในระดับที่สูงจะเข้ามาดูแลในรายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆในการผลิต และด้านเทคนิคน้อยลง แต่จะเน้นไปที่การมองภาพรวมขององค์การและทิศทางที่จะพัฒนาไปขององค์การมากกว่า ส่วนทักษะด้านคน ยังคงมีความสําคัญอย่างมากในทุกระดับของการบริหาร เพราะทุกระดับต้องเกี่ยวข้องกับคน




กิจกรรมของนักบริหาร (Managerial Activities)
มีการศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทําของนักบริหารในแต่ละวันว่า มีความแตกต่างกันหรือไม่ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่า นักบริหารที่ประสบความสําเร็จในหน้าที่การงานและได้รับการเลื่อนตําแหน่งอย่างรวดเร็ว จะให้ความสําคัญกับกิจกรรมที่ต่างไปจากนักบริหารที่มีประสิทธิผล ที่มีผลงานทั้งด้านปริมาณและคุณภาพเป็นไปตามเป้าหมาย และเป็นที่ชื่นชอบของผู้ใตบังคับบัญชา โดยการศึกษาของ Luthans และคณะ (Robbins, 2003) พบว่า กิจกรรมที่นักบริหารส่วนใหญทําสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่


1) การจัดการแบบเดิม (traditional management) เช่น การตัดสินใจ การวางแผน และ การควบคุม
2) การติดต่อสื่อสาร (communication) เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลประจําวัน และทํางานเอกสาร
3) การจัดการด้านทรัพยากรบุคคล (human resource management) เช่น การจูงใจ การสร้างวินัย จัดการความขัดแย้ง งานบุคคล และ การฝึกอบรม และ
4) การสร้างเครือข่าย (networking) เช่น การเข้าสังคม เล่นการเมืองในองค์การ และมีกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานภายนอก


ซึ่งจากการศึกษาในผู้บริหารจํานวน 450 คน เกี่ยวกับกิจกรรมทั้ง 4 ประเภทดังกล่าว พบว่าผู้บริหารทั่วๆไปโดยเฉลี่ยแล้วจะใช้เวลาประมาณ 32 เปอร์เซ็นต์ของเวลาในการทํางานกับกิจกรรมประเภทการจัดการแบบเดิม ใช้เวลาประมาณ 29 เปอร์เซ็นต์กับกิจกรรมเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร 20 เปอร์เซ็นต์กับกิจกรรมด้านบริหารทรัพยากรบุคคล และ19 เปอร์เซ็นต์กับการสร้างเครือข่าย ซึ่งการใช้เวลาและการให้ความสําคัญกับกิจกรรมทั้ง 4 นั้นมีความแตกต่างกันไปในผู้บริหารแต่ละคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้บริหารที่ประสบความสําเร็จจะใช้เวลาในกิจกรรมต่างๆไม่ เหมือนกับผู้บริหารที่มีประสิทธิผล กล่าวคือ ผู้บริหารที่ประสบความสําเร็จจะให้เวลาส่วนใหญกับการสร้างเครือข่ายและให้เวลากับการบริหารทรัพยากรบุคคลน้อยที่สุด ขณะที่ผู้บริหารที่มีประสิทธิผลจะให้เวลาส่วนใหญกับการติดต่อสื่อสารและให้เวลากับการสร้างเครือข่ายน้อยที่สุด


ผลจากการศึกษาสะทอนให้เห็นว่า ในทางปฏิบัติจริง การให้รางวัลบางครั้งก็ไม่ได้เป็นไป ตามผลการปฏิบัติงานทั้งหมด ปัจจัยด้านสังคม และการเมืองในองค์การก็เข้ามามีอิทธิพลต่อการ ดําเนินงานในองค์การด้วย




จริยธรรมของนักบริหาร (Management Ethics)


แนวทางการปฏิบัติตนด้านการเมืองในองค์การอย่างมีจริยธรรม ควรต้องคำนึงถึงใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) ประโยชน์ของส่วนรวม 2) สิทธิส่วนบุคคล 3) ความยุติธรรม กล่าวคือ ใน


ประเด็นที่ 1 การกระทําที่เป็นการเล่นการเมืองในองค์การนั้น เพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือประโยชน์ส่วนรวม หากเป็นไปเพื่อเป้าหมายขององค์การ ก็เป็นการกระทําที่ไม่ขัดกับจริยธรรม แต่ถ้าเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตน ก็ถือว่าเป็นการกระทําที่ไม่มีจริยธรรม ตัวอย่างเช่น สร้างข่าวลือที่ไม่เป็นความจริงว่าการจัดซื้อแบบอิเลคโทรนิคขององค์การมีทุจริต เพื่อให้เกิดความไม่ไว้วางใจในฝายจัดซื้อและระบบการจัดซื้อแบบอิเลคโทรนิค นับเป็นการกระทําที่ไม่มีจริยธรรม เนื่องจากไม่เป็นผลประโยชน์ต่อองค์การ แต่หากฝายซอมบํารุงทําดีเป็นพิเศษกับฝายจัดซื้อเพื่อให้ฝายจัดซื้อเร่งทํางานจัดซื้ออุปกรณ์อย่างถูกต้องโปรงใสมาให้ทันการใช้งานขององค์การ ก็ไม่ขัดกับจริยธรรม คือองค์การโดยรวมได้ประโยชน์


ในประเด็นที่สองเป็นเรื่อง สิทธิส่วนบุคคล หากการกระทําเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือสิทธิที่ควรมีของผู้อื่น ก็เป็นการขัดจริยธรรม ตัวอย่างเช่น หากผู้จัดการฝายซอมบํารุงเข้าไปกาวก่ายงานฝายจัดซื้อเพื่อให้เขาทําให้เร็วขึ้น ก็ไม่ใช่การกระทําที่มีจริยธรรม และในประเด็นสุดทายเป็นเรื่อง ความยุติธรรม กล่าวคือ การกระทํานั้นก่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน ความยุติธรรมหรือไม่ หากเป็นการกระทําที่ทําให้บางคนได้ผลประโยชน์มากกว่า หรือทําให้บางคนเสียผลประโยชน์ ก็เป็นการกระทําที่ไม่มีจริยธรรม ตัวอย่างเช่น หัวหน้าประเมินผลการ ปฏิบัติงานลูกน้องอย่างไม่ยุติธรรม โดยประเมินให้ลูกน้องที่ชอบได้มีผลประเมินที่ดีกว่า และใช้ผลการประเมินเป็นตัวกําหนดรางวัลตอบแทน เป็นต้น


อย่างไรก็ตามการตัดสินว่าการกระทําใดมีจริยธรรมเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก โดยเฉพาะกับผู้บริหาร ผู้ที่มีอํานาจในองค์การ เนื่องจากผู้มีอํานาจมักจะอ้างว่าการกระทําของตนนั้น เพื่อประโยชน์ส่วนรวม และเป็นไปตามเป้าหมายขององค์การ ไม่ได้ก้าวก่ายสิทธิของใคร และทําไปอย่างยุติธรรมมีความเท่าเทียมกัน ซึ่งในทางปฏิบัติแล้ว ผู้ที่มีอํานาจมักเป็นผู้ที่จะกระทําขัดกับจริยธรรมมากกว่า


พนักงานทั่วไปที่ไม่มีอํานาจ ดังนั้นผู้บริหารที่มีอํานาจควรพิจารณาการกระทําของตนเองตามความเป็นจริงให้ดีเกี่ยวกับ 3 ประเด็นข้างต้นว่า เป็นการกระทําอย่างมีจริยธรรมหรือไม่

สรุป
1. การจัดการ (Management) หมายถึง ขบวนการที่ทําให้งานกิจกรรมต่างๆสําเร็จลงได้อย่าง มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลด้วยคนและทรัพยากรขององค์การ


2. ผู้จัดการ (Manager) หมายถึง ผู้ที่ทํางานร่วมกับหรือทําโดยผ่านพนักงานอื่นๆ ให้เกิดการประสานงาน เพื่อให้กิจกรรมต่างๆขององค์การสําเร็จตามเป้าหมายที่กําหนด การเปลี่ยนแปลงขององค์การในปัจจุบัน ทําให้บทบาทของผู้จัดการต้องปรับเปลี่ยนไป ไม่มีเส้นแบ่ง ระหว่างผู้จัดการ กับ พนักงาน อย่างชัดเจน


3. ประสิทธิภาพ หมายถึง การทํางานอย่างถูกวิธี เป็นการเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยนําเข้า (inputs) กับผลผลิต (outputs) หากเราสามารถทํางานได้ผลผลิตมากกว่าในขณะที่ใช้ปัจจัยนําเข้าน้อยกว่า หรือ เท่ากัน ก็หมายความว่า เราทํางานได้มีประสิทธิภาพมากกว่า ส่วนประสิทธิผลในการจัดการหมายถึง การทําได้ตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงคที่กําหนดไว้ นั่นคือ ประสิทธิภาพจะเน้นที่วิธีการในการปฏิบัติงาน ส่วนประสิทธิผลจะเน้นที่ผลลัพธ์ที่เกิดจากการปฏิบัติงาน


4. ขบวนการจัดการ (management process) ประกอบด้วย กิจกรรมที่สําคัญ 4 ประการ ได้แก่


1) การวางแผน (planning) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกําหนดเป้าหมาย และวางกลยุทธ์ รวมทั้งแผนปฏิบัติการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ
2) การจัดองค์การ (organizing) เป็นการจัดวางโครงสร้างองค์การเพื่อรองรับการดําเนินงานตามแผนที่วางไว้
3) การโน้มนํา (leading/influencing) เป็นการจูงใจ โน้มนําพนักงานรายบุคคลและกลุ่ม ให้ปฏิบัติงาน มีการติดต่อสื่อสาร รวมถึงการรับมือกับประเด็นต่างๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของพนักงานในองค์การ และ
4) การควบคุม (controlling) เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการติดตามประเมินผลงาน เปรียบเทียบกับเป้าหมาย หรือมาตรฐานที่กําหนดไว้ และทําการแก้ไข เพื่อให้ผลการดําเนินงานเป็นไปตามเป้าหมาย หรือมาตรฐานที่กําหนดไว้




5. ทักษะที่จําเป็นของผู้บริหาร ได้แก่ ทักษะด้านเทคนิค (technical skills) ทักษะด้านคน (human skills) และทักษะด้านความคิด (conceptual skills) ผู้บริหารในระดับต่างๆ ต้องการทักษะในแต่ละด้านแตกต่างกัน ผู้บริหารระดับสูงจะต้องการทักษะด้านความคิดสูงกว่าผู้บริหารระดับต้น และผู้บริหารระดับต้นจําเป็นต้องมีทักษะด้านเทคนิคมากกว่าผู้บริหารระดับสูง ส่วนด้านทักษะเกี่ยวกับคนนั้นจําเป็นสําหรับทุกระดับ


6. ผู้บริหารมักเป็นผู้ที่มีอํานาจในองค์การ และอาจใช้อํานาจในทางที่ขัดกับหลักจริยธรรม คือ ไม่ได้ใช้อํานาจเพื่อประโยชน์ส่วนรวม หรือเป็นไปตามเป้าหมายขององค์การ หรือใช้อํานาจซึ่งก้าวก่ายสิทธิอันชอบธรรมของผู้อื่น













ที่มา : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=wbj&month=07-12-2007&group=29&gblog=8
วันที่ : 26/12/07







วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

การแต่งหน้า

เทรนด์เกาหลี จัดว่าเป็นเทรนด์ที่ไม่ยุ่งยากนัก ทั้งเรื่องราวของเสื้อผ้าหน้าผมจึงทำได้รับความนิยมต่อวัยรุ่นเป็นจำนวนมาก และทั้งนี้เองด้วยหลักการของการกำหนดทิศทางในการแต่งหน้านั้นขึ้นอยู่กับสไตล์ของการทำผมและการแต่งกายของเจ้าตัว นั่นล่ะจึงทำให้ เทรนด์การแต่งหน้าจึงต้องเป็นเทรนด์เกาหลีไปในตัวด้วย


คราวนี้ หากใครอยากมีใบหน้าใสๆแบ๊ว ๆตามสไตล์เกาหลีให้ดูอินเทรนด์บ้าง
life on campus ขออาสาพาไปติดตามคำแนะนำจาก


“ พี่เค-กฤษณะ มโนหาญ” ตำแหน่ง CREATIVE ARTTIRT DIRECTOR จาก ผลิตภัณธ์แห่งความงาม อย่าง Bsc Cosmetology ที่จะมาแนะว่าแต่งหน้าตามไตล์วัยรุ่นเกาหลีด้วยตัวเองนี่เขาทำยังไงกัน


เริ่มต้นที่เทรนด์ วัยรุ่นสาวเกาหลีกันก่อน


“ สาวไทยส่วนใหญ่ที่มีพื้นผิวหน้าขาวนวลอยู่แล้ว จะต้องแต่งหน้าตัวเองให้ดูเคลียร์ไม่ต้องพิถีพิถันกับมันมาก เหมือนออกงานเลย เพราะเทรนด์เกาหลีจะเน้นใส ๆเซอร์ตาเป็นประกายเล็กน้อยด้วย อายส์ชาโดว์บาง ๆ ไม่หนามาก แก้มฝาดระเรื่อๆชมพู ปากก็สีชมพูออกแดงนิด ๆ อย่าเข้ม คือเน้นหน้าธรรมชาติไปเลย ให้หน้าออกมาดูตากลมโต แก้มป่องชมพู ปากอิ่ม ชัดที่ตา ส่วนถ้าออกงานก็สามารถแต่งหน้าได้เองคือ อาจจะเพิ่มลายเนอร์เป็นประกายที่เปลือกตา ขนตางอนกว่าเดิมได้ เพื่อสร้างลูกเล่น”


ส่วนหนุ่มๆ แนวโมโทรก็สามารถอินเทรนด์ตามสไตล์เกาหลีได้ไม่แพ้ผู้หญิงเหมือนกัน "พี่เค" แนะให้แต่งหน้าอ่อน สีแทน เน้นคิ้วเข้ม โทนเอเชีย ไม่ใช่หน้าขาวปากแดง


“ สำหรับผู้ชายนี่ใช้มือป้าย ๆก็พอแต่อย่างแรงมาก อย่าให้เลือดฝาดหน้าลอย ให้แต่งเป็นโทนเข้ม ๆ แล้วแต่บุคลิกของคนด้วยหากจะแต่ง อย่าง ลิปกรอสนี่ผู้ชายสามารถทาได้ มีติดกระเป๋าก็ไม่แปลกอะไร ยิ่งเดี๋ยวนี้รู้กันมากยิ่งขึ้นแต่จะซื้อผิดกัน เพราะแต่งไม่เป็น อย่างทาครีมกันแดด แต่กลับมีผสมลองพื้นจนหน้าลอย เหงื่ออกเป็นคราบ ซึ่งจริง ๆแล้วทาครีมได้


แต่อย่าให้มัน ไม่ต้องเพิ่ม วอลลู่ม และทำให้ดูสะอาดเข้าไว้ ส่วนคิ้วเข้มสามารถเพิ่มให้เข้มได้อีก เป็นโทนเอเชีย ทาครีมแบบควบคุมความมัน ไม่ให้หลุดลอก แล้วใช้แป้งให้ดูสีชมพูอมแดง สไตล์เกาหลีนี่เน้นว่าต้องมีความสะอาดใสๆเข้าไว้ หากออกงานก็เช่นเดียวกันกับผู้หญิง ที่อาจจะมีคอนเซลเลอร์ มีไฮไลท์ที่ตาบ้างก็ได้”


เอาเป็นว่า ทั้งการแต่งหน้าและแต่งตัวก็ต้องดูที่บุคลิกของแต่ละคนด้วยล่ะกันว่าอย่างไรจึงจะเหมาะสม รวมทั้งการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ก็ควรดูที่มี อย. และสถานที่ผลิตชัดเจน แต่ส่วนหนุ่ม ๆที่ไม่มีความรู้เรื่องเครื่องสำอางค์ ก็ไม่ต้องอาย ปรึกษาสาวเอาไว้บ้างมันก็ดี พี่เคบอก

การแต่งตัวที่เหมาะสม

                                           การรู้จักแต่งกาย


เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งซึ่งทุกคนควรสนใน ผู้ที่แต่งกายดีไม่จำเป็นต้องมีรูปร่างดี หรือหน้าตาสวยเสมอไป การรู้จักแต่งให้พอเหมาะจะช่วยแก้ไขสิ่งบกพร่องต่างๆ ในรูปร่างให้หมดไปได้ และช่วยส่งเสริมความ งามที่มีอยู่แล้วให้เห็นเด่นชัดยิ่งขึ้น การแต่งกายทุกครั้งควรระวังข้อบกพร่องเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้
1. ความเรียบร้อย ผู้สวมจะรู้สึอไม่สบายใจ และวางกิริยาเป็นปกติไม่ได้เมื่อรู้สึกว่าเสื้อผ้าที่สวมไม่เรียบ ร้อย ควรรู้จักซ่อมแซมให้เสื้อผ้าอยู่ในสภาพเรียบร้อย ไม่ปล่อยให้ตะเข็บหรือกระดุมหลุดแล้วใช้เข็ม กลัดที่โน่นที่นี้ไว้ ซึ่งจะทำให้น่ารำคาญตา รำคาญใจ
2. ความสะอาด ควรรักษาความสะอาดทั้งเสื้อชั้นนอกและเสื้อชั้นใน เพราะความสะอาดเป็นรากฐานของ ความงาม ทำให้สบายใจ สบายตา
3. สีของเสื้อผ้า ผู้มีผิวขาวย่อมได้เปรียบ เพราะเลือกแต่งได้ตามความพอใจ ผู้ที่ผิวคล้ำไม่ควรใช้สีจัด มากเกินไป สีปานกลางเหมาะกว่า ผู้ที่สูงอายุควรใช้สีที่เย็นตา เรียบๆ
4. การเลือกใช้สี สีเป็นสิ่งแรกที่เรามองเห็นได้ก่อนอื่น ก่อนแบบและเนื้อผ้า สีมีความสัมพันธ์กับขนาดรูป- ร่างของคน วัย กิจกรรม และแสดงถึงรสนิยมของผู้ใช้ด้วย


การแต่งกายที่ดี
คือผู้ที่สามารถแต่งกายให้เหมาะกับรูปร่าง บุคลิกลักษณะ วัย ผิว โอกาส สถานที่ กิจกรรม ดินฟ้าอากาศ โดยไม่สิ้นเปลืองเงินทองฟุ่มเฟือยจนเกินกำลังทรัพย์ของตน ก่อนอื่นต้องพิจารณาถึงรูปร่างของตัว เองว่าเป็นคนที่มีสัดส่วนที่ดีหรือเปล่า มีส่วนใดตรงไหนที่สวย ควรจะส่งเสริมให้สวยสะดุดตาตรงนั้น เช่น มีลำคอสวย ก็ควรใส่เสื้อเปิดคอ ตกแต่งบริเวณคอให้สวยกว่าที่อื่น หรือมีส่วนที่บกพร่องตรงไหนก็ควร พราง ไม่ให้เป็นที่สนใจตรงนั้น เช่น อกเล็กไม่สวมเสื้อแนบ ควรเลือกแบบที่มีจีบพองบริเวณหน้าอก เป็นต้น
การแต่งกายนอกจากจะแต่งให้เหมาะกับรูปร่าง แบบ บุคลิกลักษณะ ยังต้องให้เหมาะกับโอกาส สถานที่ กิจกรรมและดินฟ้าอากาศด้วย เช่น เราคงไม่ใช้ชุดราตรีมาทำงาน หรือใส่ชุดอาบน้ำเดินตามถนนหรือใส่เสื้อคอ กว้างไปวัด ใส่เสื้อผ้าหนาๆ ในฤดูร้อน เพราะฉะนั้นจะต้องถามตัวเองเสียก่อนว่า
1. งานที่จะไปนั้นใครเป็นผู้จัด เด็กหรือผู้ใหญ่ เป็นงานธรรมดาหรืองานเลี้ยงใหญ่โตแค่ไหน
2. จัดขึ้นเพื่ออะไรหรือเพื่อใคร เช่น บวชนาค แต่งงาน เผาศพ หรือฉลองอัฐิ
3. จัดที่ไหน ไปมาสะดวกหรือไม่ การไปทำบุญที่วัดกับการไปเที่ยวทะเล ย่อมแต่งตัวไม่เหมือนกัน
4. เวลาอะไร เช่น ไปทำบุญ ตักบาตร ไปรับประทานน้ำชา หรือไปในงานราตรีสโมสร
5. เราจะไปในงานนั้นในฐานะอะไร เป็นประธาน ญาติผู้น้อย หรือเพื่อนฝูง
6. เมื่อเราอยู่ในงานจะต้องทำอะไรบ้าง เป้นต้นว่า นั่งพับเพียบฟังเทศน์ หรือนั่งโต๊ะทานเลี้ยง ย่อมใช้เสื้อผ้าที่ต่างกัน
7. ดินฟ้าอากาศเป็นอย่างไร หนาวหรือร้อน ฝนตกเฉอะแฉะหรือไม่ คงไม่มีใครอยากใส่รองเท้าส้นสูงๆ ไปย่ำโคลน หรือใส่ชุดสีขาวซึ่งเห็นรอยสกปรกได้ง่าย


การแต่งกายโดยไม่เปลืองทุนทรัพย์ คือ การเลือกแบบและผ้า พยายามใช้แบบเรียบยๆ วึ่งใช้ได้ในหลายๆ โอกาส และก่อนจะวื้อเสื้อผ้าชุดใหม่ จะต้องคำนึงถึงของเก่าที่มีอยู่แล้วว่า จะไปใช้กับเสื้อ และกางเกงตัวใด เข็มขัด เนคไท รองเท้า ยิ่งใช้ด้วยกันได้มากก็ยิ่งจะช่วยประหยัดเงินได้มากเพราะไม่ต้องซื้อใหม่เมื่อเสร็จแล้วจะต้องรู้จักเก็บรักษา ให้ของนั้นอยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ เพื่อความคงทนถาวรไม่ต้องซื้อหาบ่อยๆ

การแกะสลัก



                                                         การเลือกซื้อ ผักผลไม้


- หัวหอมชนิดต่างๆ เช่น หอมแดงหอมใหญ่ ควรเลือกหัวที่แน่นๆ สด เลือกหัวที่มีขนาดกลาง หรือ เล็ก โดยให้มีขนาดเท่ากัน
- แครอท ควาเลือกหัวตรงๆ ขนาดกลาง และใหญ่
- แรดิช หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า หัวผักกาดแดง ควรเลือกหัวที่สดไม่เหี่ยว หัวป้อมๆ เลือกหัวที่มีขนาดกลาง โดยให้มีขนาดเท่ากันทุกหัว


หัวไชเท้า ควรเลือกหัวตรงๆ ขนาดกลาง เปลือกใสไม่ขุ่นถ้าหัวใหญ่เนื้อจะฟ่าม


- แตงร้าน แตงกวา ควรเลือกผิวเขียว ลูกตรงขนาดกลาง สำหรับแตงกวาให้เลือกผิวเขียวๆ เนื้อจะหนากว่าแตงกวาผิวนวลล้อมเขียว


- มะเขือเทศ เลือกลูกขนาดเท่า ๆ กัน ซึ่งมะเขือเทศลูกรีๆ เนื้อจะหนากว่ามะเขื้อเทศลูกแป้นๆ เลือกลูกสดๆ ผิวไม่เหี่ยว


- ฟักทอง เลือกเนื้อหนาๆ และแน่นๆ โดยสังเกตุได้จากผิวต้องไม่ขรุขระ


- พริกชี้ฟ้า เลือกสดๆ ผิวตึงๆ เลือกเม็ดเล็กๆ เพราะถ้าใช้เม็ดใหญ่จะเต็มจาน ถ้าแกะเป็นดอกหน้าวัวจึงจะใช้เม็ดใหญ่


- ต้นหอม ต้นกระเทียม เลือกต้นที่มีใบสดเขียว ไม่เหลือง ต้นขนาดกลาง ต้นอวบๆ


- กระชาย เลือกรากสดอ้วนๆ ไม่เหี่ยว


- กะหล่ำปลีและผักกาดขาว ต้องเลือกที่สด แน่น หัวขนาดกลาง ซึ่งจะมีน้ำหนักมาก


- มะนาว เลือกสดๆ


- เผือก ใช้หัวขนาดกลาง ใช้เผือกหอมเนื้อจะละเอียด

ย้อนเวลาทำความรู้จักทะเล "หัวหิน"


ร้อน ร้อน ร้อน ร้อน จริง ๆ นะจ๊ะ .... เฮ้อ ร้อนอย่างนี้ต้องหนีไปเที่ยวทะเล "หัวหิน" กันดีกว่า???




ตั้งแต่โตมา ก็รับรู้ได้ว่า ทะเลที่อยู่ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์นั้น มีนามว่า "หัวหิน" ซึ่งถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ติดอันดับต้น ๆ สำหรับคนที่ชอบเที่ยวทะเล หรือหาเวลาว่างมาพักผ่อนสมอง แต่ก็รู้มาว่า ก่อนที่ทะเลแห่งนี้จะมีชื่อเรียกว่า "หัวหิน" นั้น ก็มีประวัติศาสตร์มากมายเช่นกัน ซึ่งวันนี้เราจะเล่าให้ฟัง


แรกเริ่มเดิมที มีเรื่องเล่าขานกันต่อ ๆ มาว่า เมื่อราวปี พ.ศ. 2377 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พื้นที่เกษตรกรรมบางแห่งของเมืองเพชรบุรีแห้งแล้งกันดารมาก ราษฏรกลุ่มหนึ่งจึงทิ้งถิ่นย้ายลงมาทางใต้ จนมาถึงบ้านสมอเรียงซึ่งอยู่เหนือขึ้นมาจากเขาตะเกียบและบ้านหนองแกหรือบ้านหนองสะแก ที่บ้านสมอเรียงนี้มีหาดทรายชายทะเลแปลกกว่าที่อื่น คือ คือมีกลุ่มหินกระจัดกระจายอยู่อย่างสวยงาม ทั้งที่ดินก็มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับทำไร่ทำนาการประมง บรรพชนเหล่านี้จึงเป็นเสมือนผู้ที่ลงหลักปักเสาสร้างบ้านขึ้น จนกลายเป็นหมู่บ้านที่เรียกกันแต่แรกว่า “บ้านสมอเรียง”


พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ (พระองค์เจ้าชายกฤษดาภินิหาร ต้นราชสกุลกฤดากร) เป็นเจ้านายพระองค์แรกที่สร้างตำหนักหลังใหญ่ชายทะเลด้านใต้ของหมู่หิน (ปัจจุบันอยู่ติดกับโรงแรมโซฟิเทลฯ) และประทานชื่อตำหนักว่า “แสนสำราญสุขเวศน์” ต่อมาทรงปลูกอีกหลังหนึ่งแยกเป็น แสนสำราญ และ สุขเวศน์ เพื่อไว้ใช้รับเสด็จเจ้านาย พร้อมกับทรงสร้างเรือนขนาดเล็กใต้ถุนสูงอีกหลายหลัง ซึ่งต่อๆ มาคือ“บังกะโลสุขเวศน์”ทรงขนานนามหาดทรายบริเวณตำหนักและหาดถัดๆ ไปทางใต้เสียใหม่ว่า “หัวหิน” เป็นคนละส่วนกับบ้านแหลมหินเดิม โดยมีกองหินชายทะเลเป็นที่หมายแบ่งเขต ซึ่งบ้านแหลมหินเดิมมีเขตด้านใต้ถึงเพียงแค่ต้นเกดใหญ่ชายทะเล (ปัจจุบันอยู่หน้าโรงแรมโซฟิเทลฯ มีศาลเทพารักษ์ใหญ่) เท่านั้น ไม่ถึงที่ดินของเสด็จในกรมฯ ครั้นเมื่อวันเวลาผ่านไป ชื่อ “หัวหิน” ก็แผ่คลุมทั้งหาดทั้งตำบลจนขยายเป็นอำเภอหัวหิน


ส่วนที่ดินแปลงที่อยู่ตรงหมู่หินชายทะเล เป็นของสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ซึ่งทรงสร้างตำหนักใหญ่ขึ้นถึงสองครั้ง ครั้งแรกคือตำหนักขาว ครั้งหลังคือตำหนักเทาและเรือนเล็กอีกหลายหลัง ซึ่งก็คือบ้านจักรพงษ์ในเวลาต่อมา ปัจจุบันคือโรงแรมเมเลีย ซึ่งได้เปลี่ยนผู้ดำเนินการเป็นโรงแรมฮิลตัน

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

การเลือกรองเท้า


                                             เทคนิคการเลือกรองเท้าใหม






1. หารองเท้าหนังเป็นอันดับแรก เพราะหนังช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ดีกว่า


2. เลือกรองเท้าที่แข็งแรง ยืดหยุ่น กระชับรูปเท้า และใส่สบาย


3. ถ้ารองเท้าคู่ใหม่ที่จะซื้อเป็นแบบที่ต้องสวมถุงเท้า ให้เตรียมถุงเท้าแบบที่จะใช้ติดกระเป๋าไปลองด้วย จะได้รู้ว่ารองเท้าที่เลือกพอเหมาะพอดีแค่ไหน


4. อย่าฝืนซื้อรองเท้าที่ใส่ไม่สบายหรือคับ


5. ไปซื้อรองเท้าตอนเย็น เพราะเป็นช่วงเวลาที่เท้าขยายตัวเต็มที่


6. วัดไซด์ใหม่ทุกครั้งที่จะซื้อรองเท้า เพราะเท้าของคนเราจะขยายตัวตามอายุ


7. ขนาดของรองเท้าแต่ละยี่ห้อไม่เท่ากัน ควรรองก่อนซื้อทุกครั้ง


8. ซื้อรองเท้าที่รูปทรงใกล้เคียงกับรูปเท้า มีความกว้างเพียงพอ


9. หลีกเลี่ยงรองเท้าทรงหัวแหลมและส้นสูงเกิน 1 นิ้ว เพราะทั้งสองแบบเป็นรองเท้าที่ทารุณเท้างามๆเป็นที่สุด


10. รองเท้ากีฬา ควรซื้อให้ตรงกับประเภทของกีฬาที่เล่น

ลาว


                                                                หลวงพระบาง






อดีตเมืองหลวงเก่าแก่ของลาว เมืองเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางขุนเขาที่โอบล้อม อุดมไปด้วยวัดวาอารามเก่าแก่ บ้านเรือนที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นในแบบโคโลเนียลสไตล์ ตัวเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงและแม่น้ำคานที่ไหลมาบรรจบกันเกิดเป็นแหลมกลางเมือง ซึ่งเป็นจุดเดียวกันกับ ภูสี ภูเขาขนาดย่อมที่มี พระธาตุจอมสี ประดิษฐานอยู่บนยอด ซึ่งคงอยู่มานานหลายร้อยปี


องค์การยูเนสโก (UNESCO) ยกย่องให้หลวงพระบางเป็น เมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่ยังมีลมหายใจ เมื่อเดือนธันวาคม 2538 ที่นี่ยังคงเอกลักษณ์ความเป็นตัวของตัวเองในแบบอาณาจักรล้านช้างเมื่อครั้งอดีต ทั้งขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมการกิน ที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะความบริสุทธ์ของชาวหลวงพระบาง ที่ยิ้มแย้มแจ่มใสและมีมิตรภาพเหมือนเมื่อครั้งอดีต ซึ่งถือเป็นเสน่ห์ดึงดูดที่ทำให้นักท่องเที่ยวทั่วโลก ต่างพยายามหาโอกาสมาเยี่ยมเยือนเมืองแห่งนี้


วีซ่า


การขอวีซ่าสามารถติดต่อได้ที่สถานทูตลาวในประเทศไทย หรือสามารถติดต่อขอได้เมื่อมาถึงสนามบินหลวงพระบาง โดยเสียค่าธรรมเนียมการขอวีซ่าคนละ 30 ดอลล่าร์สหรัฐ พร้อมกับรูปถ่ายขนาดเดียวกับในพาสปอร์ต 2 ใบ


ภูมิอากาศ


ช่วงเดือนมีนาคมถือเป็นช่วงที่ร้อนที่สุดของหลวงพระบาง อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 32 องศาเซลเซียส ช่วงเดือนธันวาคมและมกราคมเป็นช่วงฤดูหนาว อุณหภูมิประมาณ 26 องศาเซลเซียส ควรสวมใส่เสื้อผ้าฝ้ายแบบเบาสบายเพื่อความเหมาะสมในการเที่ยวชมสถานที่ต่าง ๆ


ประชากร


หลวงพระบางมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 500,000 คน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทและประกอบอาชีพเกษตรกรรม


ระบบเงินตรา


สกุลเงินของลาวคือกีบ 1 บาทเท่ากับประมาณ 250 กีบ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา เดือนสิงหาคม 2548 แต่สามารถใช้เงินบาทหรือเงินดอลล่าร์สหรัฐได้ด้วย


ที่พัก


หลวงพระบางมีที่พักตั้งแต่โรงแรมระดับห้าดาวราคาประมาณ 150-200 ดอลล่าร์สหรัฐ ไปจนถึงเกสต์เฮ้าส์ราคาประหยัดเริ่มต้นที่ 2-3 ดอลล่าร์สหรัฐต่อคืน


อาหาร


พื้นฐานการกินของชาวหลวงพระบางประกอบด้วย ข้าวเหนียว ผักจิ้มน้ำพริก และอาหารพื้นเมือง เช่น ไคแผ่น, ไส้อั่ว และหมก แต่หลังจากต้องอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส ทำให้วัฒนธรรมการกินของชาวหลวงพระบางโดยเฉพาะชนชั้นปกครองเปลี่ยนไปเป็นแบบตะวันตกอย่าง สลัด หรือ ขนมปัง แทน แต่ต่อมาขนมปังหรือที่คนลาวเรียกว่า ข้าวจี่ปาเต ก็กลายเป็นอาหารมื้อเช้าของชาวลาว โดยมีการดัดแปลงให้เข้ากับวัฒนธรรมการกินด้วยการใส่ไส้และเครื่องเคียงพื้นเมืองการกินของชาวลาวยังได้รับอิทธิพลมาจากการนำคนเวียตนามที่อยู่ใต้อาณัติของฝรั่งเศสมาช่วยปกครอง ก๋วยเตี๋ยวญวนหรือเฝอ จึงกลายเป็นอาหารยอดนิยมของชาวลาวอีกอย่าง แต่ที่พลาดไม่ได้ก็คือ สลัดหลวงพระบาง หรือสลัดผักน้ำ ซึ่งเรียกตามส่วนประกอบสำคัญอย่างผักน้ำ (WATERCRESS) เป็นผักที่มีเฉพาะที่หลวงพระบางเท่านั้น ใบผักจะมีลักษณะเล็ก ๆ สีเขียว ลำต้นยาว รสชาติคล้ายมินท์ กรอบ อร่อย นอกจากนี้ยังมี แจ่วบอง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับน้ำพริกเผาของไทย ทำมาจากปลาร้า แต่จะต่างกันตรงที่ของลาวจะใส่หนังควายแห้งผสมลงไปด้วย รับประทานกับไคแผ่น ทำจากสาหร่ายน้ำจืดเวลาจะรับประทานต้องนำไปทอดไฟอ่อน ๆ จิ้มกับแจ่วบอง บรรจุเป็นถุงขายขนาดครึ่งกิโลกรัมและหนึ่งกิโลกรัม หาซื้อได้ตามตลาดทั่วไป คนไทยนิยมซื้อกลับไปเป็นของฝากมากที่สุด


แหล่งช้อปปิ้ง


นอกจากบริเวณบ้านเจ๊กหรือตรอกข้าวเหนียวแล้ว ที่ที่นักท่องเที่ยวจะไปจับจ่ายซื้อของที่ระลึกได้มีที่น่าสนใจอีก 2 แห่งคือ ตลาดดารา ที่อยู่ใจกลางหลวงพระบาง มีสินค้าประเภทผ้าทอและเครื่องเงินจากแขวงต่าง ๆ ในลาว และ ตลาดม้ง ตรงข้ามตลาดสดท่ารถเวียงจันทน์ มีสินค้าประเภทผ้าทอปักลวดลายของชาวเขาเผ่าม้ง และมีเครื่องเงินบ้างเล็กน้อย ฝั่งตรงข้ามเป็นมินิโพสต์ จำหน่ายโปสการ์ดและแสตมป์ เป็นแหล่งที่นักท่องเที่ยวนิยมมาซื้อหากันมากที่สุด

อาหารไทย


1. ต้มยำกุ้ง [ Spicy Soup with Prawn and Lemon Grass ]
2. ผัดกะเพราไก่ [ Fried Chicken with basil leaves ]
3. แกงเขียวหวานไก่ [ Green Curry with Chicken่ ]
4. แกงเผ็ดเป็ดย่าง [ Red Curry with Roasted Duck ]
5. ผัดไทยกุ้งสด [ Stir-Fried Rice Noodle with Shrimp ]
6. ส้มตำ [ Papaya Salad ]
7. ทอดมันปลา [ Thai Fish Cakes ]
8. ต้มข่าไก่ [ Coconut Milk Soup with Chicken ]
9. พะแนงเนื้อ [ Beef Panaeng ]
10. ข้าวผัดกุ้ง [ Thai Fried Rice with Prawns ]
11. ไก่ผัดเม็ดมะม่วง [ Stir-Fried Chicken with Cashew Nuts ]
12. หมูผัดเปรี้ยวหวาน [ Sweet and Sour Sauce fried with Pork ]
13. ห่อหมกปลา [ Thai Steamed Curried Fish ]
14. หอยลายผัดน้ำพริกเผา [Stir-Fried Clams with Roasted Chili Paste]
15. หมูย่าง [ Thai Grilled Pork ]
16. แกงมัสมั่นเนื้อ [ Massaman Beef ]
17. ยำวุ้นเส้น [ Thai vermicelli Salad with Prawns ]
18. ปลาราดพริก [ Fried Fish with Tamarind Sauce ]
19. ผัดซิอิ๊วหมู [ Stir-Fried Ribbon Noodles with Pork ]
20. แกงจืดไข่น้ำ [ Fried Egg in Clear Soup ]

การเต้นรำ



การเต้นรำถือเป็นกิจกรรมเพื่อสันทนาการอย่างหนึ่ง ซึ่งนอกจากให้ความสนุกสนานแล้วยังมีผลต่อสุขภาพร่างกายด้วย การเต้นรำจะต้องอาศัยดนตรีเป็นจังหวะ เพื่อให้การเคลื่อนไหวของร่างกายส่วนต่างๆ เป็นไปด้วยความคล่องแคล่ว ประสานงานอย่างต่อเนื่องของกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ
การเต้นรำอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับตามความหนักเบา โดยอาศัยการนับจำนวนการเต้นของ หัวใจและจำนวนพลังงานที่ใช้ไป ดังนี้
ระดับที่ 1 ได้แก่ การเต้นรำจังหวะสโลว์วอลซ์ ฟ๊อกทรอท จะมีผลทำให้หัวใจเต้นต่ำกว่า 120 ครั้งต่อนาที และใช้พลังงานน้อยกว่า 6 กิโลแคลอรี่ต่อนาที ซึ่งพอๆ กับการออกกำลังกายด้วยการเดิน
ระดับที่ 2 ได้แก่ การเต้นรำจังหวะ ควิ๊กวอลซ์ , ดิสโก้ชนิดไม่เร็วนักจะมีผลทำให้หัวใจเต้นระหว่าง 120-140 ครั้งต่อนาที และจะใช้พลังงานระหว่าง 6-8 กิโลแคลอรี่ ต่อนาที ซึ่งพอๆ กับการเดินเร็วๆ จ๊อกกิ้งเบาๆ การเล่นแบดมินตันและเทนนิสแบบคู่
ระดับที่ 3 ได้แก่ การเต้นรำจังหวะดิสโก้ ชนิดเร็ว และการเต้นแอโรบิค จะมีผลทำให้หัวใจเต้นมากกว่า 140 ครั้งต่อนาที และจะใช้พลังงานไปมากกว่า 8 กิโลแคลอรี่ต่อนาที เช่น เดียวกับการวิ่งจ๊อกกิ้งการเล่นสคว้อท การเล่นแบดมินตันและเทนนิสแบบเดี่ยว
ท่านที่เต้นรำเป็นอยู่แล้ว ท่านลองรื้อฟื้นใหม่อาจชวนคนในครอบครัวเต้นรำไปพร้อมๆ กัน ก็จะได้ประโยชน์อย่างมาก ส่วนท่านที่กำลังจะหัดเต้นรำ บางคนอาจมีจุดมุ่งหมายเพื่อเข้าสังคม แต่ถ้าท่านฝึกหัดอยู่ที่บ้านเป็นประจำ ท่านจะได้ประโยชน์จากการออกกำลังกายพร้อมกันไปด้วย ขอให้สนุกสนานกับการเต้นรำนะคะ

การถ่ายรูป


                            หลักการแห่งการถ่ายรูปแอ๊บแบ๊ว


การถ่ายภาพแอ๊บแบ๊วนั้นไม่ยาก แต่ถ่ายอย่างไรให้ดูน่าหยิกอันนี้สิที่ยากยิ่งกว่า
เนื่องจากบางคนหน้าตาชวนให้แสดงออกพฤติกรรมที่รุนแรงยิ่งกว่าหยิกหรือจับ
หลักการดังกล่าวจะช่วยให้ท่านแอ๊บแบ๊วได้ง่ายดายแม้หน้าตาท่านจะ Abnormal
โดยรูปแบบการถ่ายภาพแอ๊บแบ๊วนั้นมีหลักการง่าย ๆ (แต่สำคัญ)ในการถ่ายดังนี้


1.) มุมแอ๊บแบ๊ว


ซึ่งมุมกล้องแบบนี้เราเรียกว่าอีกอย่างว่ามุมกล้องแอ๊บแบ๊ว หรือ Abbeaw Shot
คือคนจะแอ๊บแบ๊วได้ต้องใช้มุมกล้องในพิกัดนี้เท่านั้น เนื่องจากผมยังไม่เคยเห็นคน
แอ๊บแบ๊วคนไหนจะถ่ายแบบสะพานโค้ง หรือแบบลอดขาถ่าย เราจึงกะระยะได้เท่านี้
ที่สำคัญมุมกล้องนี้ถ่ายเองได้ เพราะสามารถใช้มือเดียวในการกดชัตเตอร์ได้สบาย ๆ
โดยมุมที่นิยมมากที่สุดคือมุมสูง (ประมาณ 30o-50o) เพราะจะทำให้หน้าตาดูแบ๊วได้ใจ
ที่มุมกล้องในระดับนี้ได้รับความนิยม คาดว่าน่าจะมาจากปัจจัยที่ทำให้ใบหน้าโดดเด่นได้รูปเป็นที่สุด

ผลไม้ไทย


                                                   ผลไม้ 10 อันดับแรกที่มีเบต้าแคโรทีนสูงคือ

1. มะม่วงน้ำดอกไม้สุก
2. มะเขือเทศราชินี
3. มะละกอสุก
4. กล้วยไข่
5. มะม่วงยายกล่ำ
6. มะปรางหวาน
7. แคนตาลูปเนื้อเหลือง
8. มะยงชิด
9. มะม่วงเขียวเสวยสุก
10. สับปะรดภูเก็ต